วันที่ 2 มกราคม 2565 มีรายงานว่า ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana

โดยระบุว่า ข่าวแรกของปีคือการพบไวรัสโรคโควิด-19 กลายพันธุ์ตัวใหม่ที่คลัสเตอร์เล็กๆ ในฝรั่งเศส ชื่อว่า B.1640.1 เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแคเมอรูนจากผู้ป่วยรายแรก ไวรัสสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ทั้งหมด 46 ตำแหน่ง และมีส่วนที่ขาดหายไปของเบส (deletion) 37 ตำแหน่ง ส่งผลให้มีกรดอะมิโนเปลี่ยนไปจากเดิม 30 ตำแหน่ง และ หายไป 12 ตำแหน่ง

ถ้าพิจารณาเฉพาะกรดอะมิโนบนโปรตีนหนามสไปค์ พบว่ามี 14 ตำแหน่งที่เปลี่ยน และ 9 ตำแหน่งที่หายไป โดยตำแหน่งสำคัญที่พบรวมไปถึง N501Y และ E484K ด้วย การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จากตำแหน่งที่กลายพันธุ์ไปคาดว่าจะมีผลเรื่องการหนีภูมิคุ้มกันได้คล้ายๆ กับโอมิครอน

แต่…ขอจบด้วยข่าวดีรับปีใหม่ว่า ไวรัสสายพันธุ์นี้คาดว่ามีแนวโน้มจะถูกกลืนด้วยโอมิครอน เพราะ ข้อมูลในฝรั่งเศสพบไวรัสสายพันธุ์นี้มาเกือบ 2 เดือนแล้ว ยังไม่ได้มีการพบการระบาดในประเทศมากขึ้นต่อจากคลัสเตอร์แรกที่พบ ซึ่งเมื่อเจอโอมิครอนที่วิ่งไวกว่า หนีภูมิอาจจะดีกว่า โอกาสของการกระจายตัวของไวรัสสายพันธุ์นี้ดูเหมือนน้อยลงไปด้วย ยังไงก็ดี ข่าวนี้ทำให้เราเห็นว่าไวรัสแปลกๆ พร้อมแสดงตัวได้ตลอดเวลาครับ.

ที่มา : ไทยรัฐ

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "Comment on this paper Emergence in Southern France of a new SARS-CoV-2 variant of probably Cameroonian origin harbouring both substitutions N501Y and E484K in the spike protein"
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพอาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "S Spike P9L, E96Q, R190S, D215H, R346S, N394S, Y449N, E484K, F490S, N501Y, D614G, P681H, T859N, D1139H; C136-, S:N137-, S:D138-, S:P139-, S:F140-, S:L141-, S:G142-, S:V143-, S:Y144-"
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "Del136-144 N501Y Y449N E96Q R346S R190S D215H F490S E484K T859N N394S D614G P681H D1139H"