นายสืบ ธาราสิริ เลขาธิการสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย เผย การใช้หิมะเทียมนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ครั้งนี้ และเป็นเรื่องปกติสำหรับกีฬาสกี เนื่องจากการใช้หิมะจริงในการแข่งขันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแข่งได้ตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้าย ดังนั้นทางฝ่ายจัดจึงต้องใช้หิมะเทียมเพื่อรักษาสภาพสนามแข่งขันให้สามารถแข่งได้จนจบ โดยที่สนามมีความเสียหายน้อยที่สุด
ก่อนที่โอลิมปิกเกมส์ฤดูหนาว 2022 จะเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน ได้มีข่าวออกมาว่าทางเจ้าภาพใช้หิมะเทียมในการทำสนามแข่งขันสกีทุกประเภท จนเป็นที่โต้เถียงกันในโลกออนไลน์ถึงความไม่พร้อมของประเทศจีน หรือ มองถึงคุณภาพของจีนในเชิงลบ
หลังจากที่มีนักวิชาการของต่างประเทศออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้หิมะเทียมในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน และยังตั้งข้อสังเกตว่าการใช้หิมะเทียมในการแข่งขันจะส่งผลต่อการบาดเจ็บของนักกีฬาประเภทสกี โดยในเรื่องนี้ นายสืบ ธาราสิริ เลขาธิการสมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การใช้หิมะเทียมนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในโอลิมปิกหนนี้ เพราะมีการใช้มานานแล้วและเป็นเรื่องปกติสำหรับกีฬาสกี เพราะการใช้หิมะจริงในการแข่งขันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแข่งได้ตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้าย ฉะนั้นทางฝ่ายจัดจึงต้องใช้หิมะเทียมเพื่อรักษาสภาพสนามแข่งขันให้สามารถแข่งได้ตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้ายโดยที่สนามมีความเสียหายน้อยที่สุด นายสืบ ธาราสิริ ยังเผยต่อว่า หิมะจริงนั้นจะมีความอ่อนนุ่มมากกว่าเวลาแข่งไปนานๆสนามะเกิดการยุบตัวและทำให้คนหลังๆแข่งไม่ได้ ส่วนหิมะเทียมเกิดจากการสร้างหิมะขึ้นมาด้วยการฉีดน้ำกลางอากาศเพื่อให้ละอองน้ำเกิดการแข็งตัวแล้วตกลงมาเป็นหิมะ ซึ่งจะแข็งกว่าหิมะจริงที่จะออกเป็นปุยๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความแข็งให้กับตัวสนามที่มีหิมะจริง โดยการสร้างหิมะเทียมที่ใช้กันทั่วไปจะใช้เครื่องสโนว์กัน (snow gun) เพื่อสร้างหิมะเทียมแล้วเอาไปใช้ทำสนามแข่งขันของสกีประเภทครอสคันทรี และ สกีประเภทอัลไพน์
ส่วนความแข็งของสนามสกีประเภทครอสคันทรี กับ ประเภทอัลไพน์ ก็แตกต่าง โดย ครอสคันทรี จะใช้ปริมาณหิมะเทียม ที่น้อยกว่า อัลไพน์ เนื่องจากต้องการความนุ่มนวลของสนามให้เหมาะกับการแข่งขัน ส่วน อัลไพน์ นั้นต้องใช้หิมะเทียมที่ปริมาณมากกว่าจนเกือบจะเป็นน้ำแข็ง ทั้งนี้หากไม่ใช่หิมะจริงในการทำสนามก็จะทำให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบต่อการแข่งขันของนักกีฬาคนแรกและคนสุดท้าย
สำหรับในโอลิมปิกฤดูหนาว ปี 2018 “พยองชางเกมส์” ที่เกาหลีใต้ นั้น มีการใช้หิมะเทียม 90% ผสมกับหิมะจริงอีก 10% แต่ด้วยวิกฤตโลกร้อนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยน จึงเป็นอีก 1 สาเหตุที่ฝ่ายจัดการแข่งขันของกีฬาฤดูหนาวใช้เครื่องทำหิมะเพื่อสร้างหิมะเทียมขึ้นมา
ขอบคุณข้อมูลจาก SIAMSPORT