วันที่ 24 ก.พ.2565 เจ้าหน้าที่ได้นำแผงเหล็กมากั้นปิดทางเข้า-ออก ที่อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (งานดับเพลิง) เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่กักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
พร้อมนำป้ายข้อความ ติดบนแผงเหล็กว่า “ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ครอบครัวสีแดง กักตัว 14 วัน ตรวจหาเชื้อโควิด(SWAB) ทุก 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ.2565 ถึงวันที่ 5 มี.ค.2565” เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงยกสถานีดับเพลิง
สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ พบพนักงานเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ชาย 1 ราย ติดโควิด ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จึงได้มาทำการตรวจคัดกรอง ATK เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้กับพนักงาน เจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (งานดับเพลิง) เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ รวมกว่า 20 คน
เพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจให้กับพนักงาน เจ้าหน้าที่ และประชาชน เพื่อเป็นการป้องกัน เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ปรากฏว่า การตรวจครั้งแรก ผลบวก 4 ราย และครั้งที่สองพบมีพนักงาน เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผลบวกอีก 5 ราย รวมพบพนักงานเจ้าหน้าที่ดับเพลิง มีผลเป็นบวกติดเชื้อโควิด-19 รวม 10 ราย
นอกจากนี้ ยังมีพนักงานเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ต้องกักตัวอีก 15 ราย ทั้งนี้ทางเทศบาลได้ส่งไปตรวจเพื่อเป็นการยืนยันผลตรวจอีกครั้งที่ รพ.บุรีรัมย์ ด้วยวิธี RT-PCR
ส่วนมาตรการในการป้องกันกลุ่มเสี่ยงสูงเสี่ยงต่ำ ก็ใช้วิธีกักตัวเพื่อดูอาการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดต่อไป ขณะเดียวกัน ทางเทศบาลเตรียมทำหนังสือถึงจังหวัด พร้อมกับร้องขอหน่วยข้างเคียงออกระงับเหตุแทน กรณีมีเหตุอัคคีภัย เนื่องจากกลุ่มเสี่ยงสูงถูกกักตัวทั้งหมด
ขณะที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ รายงานข้อมูลสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ (โควิด-19) ระลอกใหม่ มกราคม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 ถึงวันที่ 22 ก.พ.2565 ของ จ.บุรีรัมย์ พบว่ามียอดผู้ป่วยสะสมรวมกว่า 9,000 ราย เสียชีวิตสะสม 10 ราย
ที่มา khaosod