รายการ เป็นเรื่องใหญ่ ออนแอร์ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.05 น. ทางช่อง JKN 18 ดำเนินรายการโดย “เพชร กรุณพล เทียนสุวรรณ” ได้เกาะติดเหตุการณ์หลังการเสียชีวิตของนางเอกชื่อดัง “แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์” หลังพลัดตกจากเรือจมในน้ำเจ้าพระยา

แถวสะพานพระราม 7 กลางดึกวันที่ 24 ก.พ. ก่อนจะพบร่างในวันที่ 26 ก.พ. วันนี้เพชร ได้เปิดใจสัมภาษณ์ “ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร” ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม และ “รศ. นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี” ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มศว.

โฟนอิน “ธัญญ่า ธัญญาเรศ” กรณีน้องแตงโมได้ทำประกันชีวิตมอบเงินให้บุตรบุญธรรม?
ธัญญ่า : คือตอนที่มาออกรายการก็น่าจะประมาณ 10 เดือนแล้วค่ะ ในรายการมีการมอบกรมธรรม์จากทิพยประกันภัยให้กับคุณแตงโม แต่ทีนี้ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าผู้รับผลประโยชน์เป็นใคร แต่ว่าเราเห็นแล้วว่าเขาเป็นคนเซ็นเอกสารอะไรอย่างนี้ค่ะ พอมันเกิดเรื่องทางรายการก็เลยนึกขึ้นได้ว่ามีประกันตรงนี้นะ เราก็เลยตั้งใจแจ้งให้เพื่อนๆ แตงโมได้ทราบจะได้บอกคุณแม่ ทีนี้ก็เลยมารู้ว่าแตงโมเขายกผลประโยชน์ให้ลูกบุญธรรมค่ะ

แล้วตอนที่ถ่ายรายการวันนั้นคุณแตงโมได้บอกมั้ยว่าจะยกให้ใคร หรือเพราะอะไรถึงยกให้ลูกบุญธรรม?
ธัญญ่า : ไม่มีการพูดถึงเลยค่ะ คือทางรายการเราให้กรมธรรม์กันทุกเทปอยู่แล้ว เราก็ไม่ได้ไปถามว่าให้ใครอะไรยังไง เพราะเขาจะมีเอกสารมาให้ค่ะ

อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแขกรับเชิญแต่ละท่านว่าจะเขียนรายละเอียดยังไง แต่พอมันเกิดเหตุตอนนี้เราถึงต้องคุยกับทางประกันภัย

คุณธัญญ่าทราบมั้ยว่าวงเงินประกันทั้งหมดเท่าไหร่?
ธัญญ่า : 1 ล้านบาทค่ะ

ซึ่งยืนยันว่าทางรายการก็เพิ่งทราบตอนติดต่อไปใช่มั้ยครับ?
ธัญญ่า : ใช่ค่ะ คืออย่างธัญญ่าเป็นพิธีกรก็เลยไม่ได้ไปนั่งดูรายละเอียด แต่ก็จะมีน้องทีมงานที่จะเป็นคนยื่นเอกสารให้เซ็นอะไรอย่างนี้ค่ะ

ประกันเหลือระยะเวลาเท่าไหร่ครอบคลุมนานแค่ไหนครับ?
ธัญญ่า : จริงๆ เนี่ยมันอยู่ในระยะเวลา 1 ปี แต่จากที่แตงโมมาออกรายการประมาณ 10 เดือนค่ะ

พอตอนนี้เป็นข่าวคุณกระติกได้ติดต่อทางรายการมามั้ยครับ?
ธัญญ่า : ไม่นะคะยังไม่ได้ติดต่อ จริงๆ ถ้าติดต่อเขาต้องติดต่อกับทางทิพยประกันภัย ซึ่งตอนนี้ได้คุยกับทางทิพยประกันภัยก็คือยังไม่มีการติดต่อค่ะ ตอนนี้กรมธรรม์อยู่ที่ไหนเราก็ไม่ทราบ เพราะตอนรายการจบเราได้ส่งไปที่บ้านแตงโม

ถ้ามีประกันอยู่จริงต้องดำเนินการต่ออย่างไร?
รณณรงค์ : ถ้าประกันมีอยู่จริงและคุณแตงโมทำไว้ให้ลูกสาวของคุณกระติกแล้วเมื่อประกันทำสัญญาไว้แบบนี้เขาก็ต้องจ่ายให้ ที่เมื่อเช้าที่แม่บอกจะไปคัดค้าน แม่จะคัดค้านได้กรณีเดียวคือแตงโมฟื้นขึ้นมาแล้วไปเปลี่ยนแปลงให้เป็นคนอื่น เมื่อมันทำไม่ได้เพราะฉะนั้นการคัดค้านก็ทำไม่ได้

แล้วถ้าได้เงินจริงๆ น้องยังเป็นผู้เยาว์อยู่ใครจะเป็นผู้ดูแลเงิน?
รณณรงค์ : โธ่ มันก็ต้องเป็นคุณกระติกสิ เพราะเขาเป็นแม่ใช่มั้ย แม่ตามกฎหมายแล้วก็เป็นผู้ปกครองด้วย ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจในการเลี้ยงดูบุตรได้หลายอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือการเอาทรัพย์สินไปใช้แต่ต้องใช้ในการเลี้ยงดูบุตรนะครับ

แล้วใครจะเป็นคนพิสูจน์ว่าเอาเงินไปเลี้ยงดูบุตรเพราะว่าเงินก็ต้องโอนเข้าบัญชีแม่หรือเปล่า?
รณณรงค์ : หน้าที่ของประกันคือการจ่ายประกันตามสัญญาวินาศภัย เมื่อจ่ายมาแล้วคุณจะเอาเงินไปทำอะไรนั่นเป็นเรื่องของคุณ

ก็คือไม่สามารถตรวจสอบได้?
รณณรงค์ : จะตรวจสอบยังไงมันเป็นเรื่องของเขา

แต่ว่าในนั้นเขาเขียนว่ายกให้ลูกก็เป็นได้แค่ผู้ดูแลไม่ใช่เหรอ?
รณณรงค์ : ใช่ครับ เงินต้องอยู่ในบัญชีเด็กแต่ถามว่าเด็กอายุแค่นี้ใช้เงินไม่เป็นก็ต้องให้แม่เป็นคนกำกับดูแลแทน แต่ถ้าบางครอบครัวที่พ่อกับแม่เลิกกันถ้ามันมีประเด็นปัญหาเรื่องทรัพย์สินของเด็กอันนี้ต้องไปร้องขอศาลเยาวชนขั้นตอนจะเยอะหน่อย

แล้วสมมติถ้าเงินโอนเข้ามาในบัญชีเด็ก แม่ของคุณแตงโมสามารถเข้ามาตรวจสอบการใช้เพื่อให้ไปถึงมือลูกได้มั้ย?
รณณรงค์ : ไม่ได้ครับแม่แตงโมไม่เกี่ยวแล้ว หน้าที่แม่แตงโมคือเอาใบมรณบัตรลูกให้เขาไปเบิกเงิน

สมมติว่าเลวร้ายสุดถ้าเป็นการฆาตกรรมเงินก้อนนี้ถ้าโอนมาแล้วต้องทำยังไง?
รณณรงค์ : ต่อให้เป็นการฆาตกรรมแล้วคุณกระติกไปเกี่ยวข้องเงินก็ต้องโอนให้เด็กอยู่ดี เพราะเด็กไม่ได้ไปฆ่าผู้ทำประกัน กรณีที่บริษัทประกันจะไม่จ่ายคือฆ่าตัวตาย หรือคนที่มีสิทธิในประกันไปฆ่าเพื่อหวังเงินประกัน เพราะฉะนั้นกรณีนี้ต่อให้ผิดไม่ผิดยังไงประกันก็ต้องจ่าย

คุณทนายเชื่อมั้ยกับสิ่งที่คุณแซนพูดเมื่อคืนนี้?
รณณรงค์ : ถ้าเราเป็นคนคอมเมนต์เราจะพิมพ์ว่าไปเอาคนเขียนสคริปต์มาพูดแทนก็ได้เพราะบางทียังหันไปดูบทอยู่ เลยไม่รู้ว่าที่ออกมาไลฟ์เมื่อคืนเป็นความรู้สึกจากข้างในหรือจำใจต้องพูดแล้วคุณแซนเนี่ยเป็นคนสุดท้ายนะที่แตงโมสัมผัสด้วย เป็นเรานะเราจะต้องไปอยากขอขมามากกว่ากระติกอีก แต่ไม่ไปมาเปิดไอจีไลฟ์

แล้วมีข้อพิรุธอะไรบ้างกับสิ่งที่คุณแซนพูด?
รณณรงค์ : คือเล่ารอบที่ 3 แล้วผมก็ยังฟังดูวกวนอยู่ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แต่ที่ฟังได้ประเด็นนึงก็คือช็อตที่หล่นยังไงแซนก็เป็นคนที่เห็นแตงโมหล่นต่อหน้าแน่นอน แต่เธอไม่มีอาการช็อกเลยนะนั่นคือแปลกมาก คนทั่วไปเห็นคนเสียชีวิตต่อหน้านอนไม่หลับนะ ภาพมันจะติดตาจนนอนเอาไปฝันแต่นี่คือเหมือนเธอไม่ได้รู้สึกอะไร เธออาจรู้สึกก็ได้แต่ผมดูแล้วผมไม่ได้รู้สึกว่าเธอรู้สึก แต่ที่เธอพูดมาอันนึงน่าสนใจว่า ไม่รู้ว่าเธอจะเป็นคนที่ 3 มั้ยที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้

ในทางนิติเวชอาจารย์เคยเจอญาติหรือเพื่อนผู้เสียชีวิตมีอาการคล้ายแบบนี้มั้ย?
วีระศักดิ์ : ผมอาจไม่ค่อยได้เจอนะครับเรื่องความรู้สึกของคน เพราะส่วนใหญ่ผมก็อยู่กับผู้เสียชีวิตเป็นหลัก แต่ว่าคิดว่าคงไม่สอดคล้องกับสังคมมันเลยทำให้เกิดความรู้สึกที่อาจดูแปลก

แต่จะบอกว่าความไม่สอดคล้องนั้นเป็นความผิดปกติหรือไม่มันก็บอกยากนะครับ เพราะว่าแต่ละคนอาจมีบุคลิกที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นคงต้องไปว่ากันในข้อเท็จจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำมากกว่า

รณณรงค์ : ไปขอโทษแต่ถ้าแม่ไม่อยากฟังคำขอโทษของหนูแม่ไปถามร้อยเวร อันนี้ขอโทษประสาอะไร

แปลกมั้ยในทางกฎหมาย การที่เพื่อนสนิทเสียชีวิตไป 4 วันแล้วไม่ติดต่อแม่เลย?
รณณรงค์ : อันนี้คือแปลกมากคนทั่วไปถ้าสนิทจริง ไม่ต้องเป็นเพื่อนหรือเป็นผู้จัดการส่วนตัวนะเสียชีวิตต่อหน้าเป็นสิ่งนึงที่ต้องรีบไปเจอญาติเขาและขอโทษ ไม่งั้นมันจะเป็นความผิดมากเลยที่วันนั้นฉันไม่ถือห่วงยางแล้วกระโดดลงไปช่วย

เพราะว่าวันนั้นเขาตกใจจนเสียสติหรือเปล่าและเขาว่ายน้ำไม่เป็น?
รณณรงค์ : ตกใจจนเสียสติ ผมต้องบอกอย่างนึงนะ คนอายุวัย 30 จะ 40 แล้วสติมันต้องมีแล้วคุณสามารถจะดูคิวของดาราได้แสดงว่าคุณต้องมีการทำงานแบบวางแผน เพราะฉะนั้นสติแค่นี้ไม่หลุดหรอกแล้วอยู่กันตั้งหลายคนแต่ไม่ใช่การกลับบ้านไปนอนแน่นอน ประเด็นอันนึงเวลาที่เราจะขอโทษใครสักคนนะอย่างกรณีอุบัติเหตุแบบนี้คุณไม่ได้ตั้งใจหรอก แต่ญาติเขาโมโหแน่นอน

ผมแนะนำนะไปขอโทษเขา ไปช่วยจัดงานศพ ไปแสดงความเสียใจเขา เขาจะด่าจะว่าไปใช้ในศาล ให้ศาลเห็นว่าเรามีความเมตตา เรามีความพยายามที่จะไปขอโทษ แต่กระติกไม่ได้โดนข้อกล่าวหาไง แม่จะให้อภัยหรือไม่ก็ถือว่าหนูขอโทษแล้วกัน

มองได้มั้ยว่าจริงๆ เขาอยู่หน้าเรือเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเสียชีวิต?
รณณรงค์ : เราก็ต้องแสดงความเสียใจให้อีกฝั่งเขาเห็นว่าเราเสียใจ แต่ปฏิกิริยาแบบนั้นมันไม่เรียกว่าการขอโทษ มันเรียกว่าการขอไปที

ผมถามในข้อกฎหมายว่าเราเห็นคนตกน้ำในเคสที่เราเห็นนะ แล้วเราไม่กระโดดลงไปช่วยแล้วคนนั้นจมน้ำตาย?
รณณรงค์ : ผมบอกอย่างนึงแม่น้ำเจ้าพระยาเนี่ยโดดไปก็ตายคู่ แต่ถ้าจะช่วยให้มันถูกต้องต้องมีชูชีพติดตัวไปด้วย เพราะฉะนั้นต้องปรับความคิดใหม่เห็นคนตกน้ำแล้วโดดลงไปช่วยทีเดียวเดี๋ยวจะเป็นสองศพ คุณต้องมีอุปกรณ์ชูชีพจึงจะกระโดดลงไปได้

หลายคนตอนนี้ในโซเชียลจะบอกว่าถ้าเป็นเพื่อนผมหรือเพื่อนฉันฉันโดดลงไปแล้ว แต่ตอนนี้เรากำลังบอกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใช่สระว่ายน้ำ?
รณณรงค์ : แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใช่สะว่ายน้ำมันมีคลื่น แล้วมันมีน้ำวนด้านล่าง ต่อให้ว่ายน้ำแข็งแม่น้ำเจ้าพระยาดูดมาหลายศพแล้วยังไงก็ตามต้องมีอุปกรณ์ชูชีพ ซึ่งอุปกรณ์ชูชีพตัวนี้คุณกระติกอยู่ทางด้านหน้าเรืออาจมาไม่ทัน แต่คนสุดท้ายที่เห็นน่าจะคว้าชูชีพหรือโยนไปให้น่าจะทัน

ทางนิติวิทยาศาสตร์แบบนี้เป็นปกติมั้ยกับการที่เราอยู่ในเหตุการณ์เดียวกันแต่พูดไม่ตรงกันแบบนี้?
วีระศักดิ์ : ผมคิดว่าอันนี้ก็เป็นทักษะของพนักงานสอบสวนที่เขาจะสืบว่าในกรณีไหนที่พูดจริงพูดไม่จริงแล้วก็ต้องให้จำลองสถานการณ์เพราะว่าในความเป็นจริงเนี่ย ยิ่งเวลาสอบถามเนี่ยผมเชื่อว่าไม่ได้สอบถามเพียงครั้งเดียว ถ้าการสอบสวนไม่ตรงกับที่จำลองมันก็เป็นประเด็นแล้วงว่าอาจพูดจริงหรือพูดไม่จริง

แต่ในขณะเดียวกันถ้าไปดูหลักฐานบางครั้งบอกว่าเป็นแบบนี้แต่ถ้าไม่ตรวจดูแล้วไม่พบหลักฐานเหล่านี้เลยนั่นก็จะเป็นปัญหา แต่แน่นอนมันก็อาจเป็นข้อจำกัด ยกตัวอย่างเช่นการไปนั่งบริเวณตรงนั้นจับกับวัตถุใดก็น่าจะมีลายนิ้วมือ เพราะฉะนั้นการตรวจถ้าบอกอะไรก็ต้องไปตรวจตรงนั้น แล้วถ้ามันมีมันก็จะมีความน่าเชื่อถือ

แต่มันมีข่าวว่าเขาเอาเรือไปล้างแล้ว?
วีระศักดิ์ : นั่นคือประเด็น แต่ถ้ามันมีข้อจำกัดว่าถ้าตัวเรือถูกเอาไปล้างถ้ามันเป็นจริงมันก็คือวัตถุพยานที่ควรจะเก็บได้ มันก็จะหายไป

หลายคนสงสัยว่าอาจเกิดการต่อสู้จนพลัดตกน้ำ บาดแผลที่เกิด เกิดบนเรือ แล้วล้างเลือดแล้ว จะตรวจสอบเจอมั้ย?
วีระศักดิ์ : บาดแผลตามที่เป็นข่าวค่อนข้างรุนแรงมาก แล้วอยู่ในตำแหน่งที่อาจมีเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ต้นขา เลือดจะออกในปริมาณที่มาก

การล้างเรือต่อให้ล้างอย่างไรก็ตาม ล้างไม่หมดหรอกครับ เพราะมีสารที่พ่นจนเห็น จะอยู่ตามหลืบ ตามซอกต่างๆ สามารถตรวจระบุได้ว่าเป็นเลือดของใคร โดยการตรวจดีเอ็นเอ ฉะนั้นโอกาสเล็ดรอดการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นไปได้ยากมาก ถ้าบาดเจ็บบนเรือ และมีรอยเลือด ทุกรายพยายามใช้วิธีล้างด้วยน้ำยาต่างๆ แต่สุดท้ายตรวจได้หมด

มีหมอหลายท่านบอกว่าไม่น่าจะใช่บาดแผลจากใบพัดเรือ?
วีระศักดิ์ : ผมว่าเป็นเรื่องความเห็น หลายคนให้ความเห็นได้ ฉะนั้นคนสรุปคือคนผ่าชันสูตรและเห็นบาดแผลมากที่สุด อย่างผมดูและวิเคราะห์จากรูป แต่ผมตั้งประเด็นในกรณีการที่บอกว่าเป็นบาดแผล ต้องบอกให้ได้ก่อนว่าเป็นบาดแผลก่อนการเสียชีวิตหรือหลังเสียชีวิต ถ้าก่อนการเสียชีวิต ชัดเจนก็มีอยู่สองที่ คือบนเรือหรือในน้ำ ถ้ามีก็ไปตรวจบนเรือ แต่ถ้าไม่มีคือในน้ำ

คำถามคือในน้ำขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ อะไรที่จะเป็นวัตถุให้เกิดบาดแผลได้บ้าง ต้องหาดู และเอาสิ่งนั้นมาเปรียบเทียบ ว่าจะทำให้เกิดบาดแผลได้หรือไม่กับกรณีแบบนี้ แต่ถ้าระบุว่าเป็นบาดแผลหลังเสียชีวิต อาจจมไปในน้ำ ยังหาไม่เจอ อาจไปเกี่ยวกับวัตถุใด สิ่งต่างๆ ที่เกิดในแม่น้ำ ก็อีกเรื่องนึง

การตรวจสอบใช้เวลานานมั้ย?
วีระศักดิ์ : ในกระบวนการไม่ได้มีแค่เรื่องการผ่าแล้วเห็นเลย ต้องรอผลการปฏิบัติการ ตัดชิ้นเนื้อเอาไปดู และรอหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาสรุป ฉะนั้นการแถลงเราสังเกตจากการแถลง จะเห็นว่าในบางกรณีก็อาจมาบอก เรื่องกระเพาะปัสสาวะ

เรื่องบางอย่างก็มีการมาบอก ถามว่าทำไม ผมเชื่อว่าโดยปกติถ้าย้อนไปดูการทำงาน มักไม่ค่อยมีการแถลง แต่เรื่องนี้เป็นคดีใหญ่ การที่สังคมมีประเด็นก็ออกมาบอก แต่ถ้าไม่มีประเด็น โดยหลักการส่วนใหญ่ 30-60 วัน รายการชันสูตรบาดแผลฉบับสมบูรณ์ถึงจะออก และมอบให้พนักงานสอบสวน ถึงไปเริ่มต้น

ในข่าวบอกมีร่องรอยเลือดที่อวัยวะเพศและบริเวณใกล้ๆ?
วีระศักดิ์ : อันนี้ยังไม่ได้เห็น

แต่ละคนมีฐานะ มีเส้นมีสายพอสมควร?
รณณรงค์ : ถ้าคนจน คุณโดนล็อกตัวตั้งแต่ทำแตงโมหล่นน้ำไปแล้ว

มีอะไรแปลกแตกต่างจากคดีอื่นบ้าง?
รณณรงค์ : คดีอื่นๆ ปกติตำรวจต้องไปอายัดของกลางไว้ก่อน แม้ไม่รู้ว่าเป็นหรือตาย แต่ตามกฎหมาย การทำคนหล่นจากเรือผิดกฎหมายอาญาแล้วนะ สามารถดำเนินการได้เลย แต่คดีนี้กว่าจะทำ กว่าจะสอบปากคำ ผ่านมา 20 กว่าชั่วโมง แปลก พิสดาร

กังวลว่าจะมีการใช้เส้นสาย เหมือนคำพูดที่ว่าคุกมีไว้ขังคนจน?
รณณรงค์ : คนรวยที่ไหนบ้างที่เขาจะไม่ใช้เส้น ไม่มีหรอก ถ้ามีก็บอกหน่อย หายากจริงๆ

ถ้าคดีนี้ตัดสิน ส่งสำนวนฟ้องว่าเป็นแค่อุบัติเหตุ?
รณณรงค์ : อย่างนี้ยอมไม่ได้ เราอ้างอิงตามกฎหมายเลยว่าคุณเป็นคนประมาท เพราะคุณควบคุมเรืออยู่ ถ้าบอกว่าเป็นอุบัติเหตุ ไม่มีใครผิดเลย เหตุสุดวิสัย รอบหน้าอย่ามาหล่นเรือผมนะ

ในเคสนี้ยังไงก็ตาม ต้องมีคนผิดอย่างน้อย 1 คนหรือเปล่า?
รณณรงค์ : มันต้องมี 1 2 หรือ 3 เรือยังขับระบบเอไอไม่ได้ ถ้าขับระบบเอไอได้ ไม่ต้องแจ้งข้อหาใครก็ได้

คนเห็นว่าถ้าไม่เคยต้องคดี ไม่เคยทำความผิดมาก่อน ให้โอกาสกลับตัว รอลงอาญา เป็นไปได้มั้ย?
รณณรงค์ : เป็นไปได้ เพราะตอนเกิดเหตุใหม่ๆ ไม่มีการเป่าหรือวัดแอลกอฮอล์ในเลือดของคนขับเรือเลย ปล่อยให้กลับบ้านไปแล้วมาวัดตอนหลัง มันจะเจออะไรล่ะ ไม่เอาตร.ไปเจอที่บ้านเลย ตร.อาจไม่กล้า

ถ้ามีหลักฐานใหม่เปลี่ยนเรื่องราว?
รณณรงค์ : ถ้าเปลี่ยนมันจะพลิกหลายตลบมาก แล้วที่เล่ามาทั้ง 5 คนโกหกหมดเลย

ถ้าเป็นเรื่องโกหก ทำร้ายร่างกาย เมาจนขาดสติ?
รณณรงค์ : เมาพอเป็นไปได้ แต่เรื่องทำร้ายร่างกาย ตรงนั้นมันก็ไม่ใช่คนไม่มีประสบการณ์ชีวิต เป็นคนรวย จะไปทำร้ายร่างกายกับนางเอกมันห่างไป วิสัยไม่น่าเกิดขึ้นได้ ต่อให้คนทำผิดก็เพราะประมาท ไม่ใช่ตั้งใจ

ที่มา khaosod