ราชกิจจานุเบกษา เผย ข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคำสั่ง ศบค. 2 ฉบับ รวบรวมมาตรการเข้าประเทศ การคุมโควิด ปรับพื้นที่สี ฉบับล่าสุด เปิดประเทศลุยฟื้นเศรษฐกิจ มีผลตั้งแต่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 44) มีเนื้อหาว่า

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้น

โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่คลี่คลายลง จากการตรวจพบผู้ติดเชื้อและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในจำนวนที่ลดลง อีกทั้งประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณยาและเวชภัณฑ์ บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยวิกฤติอยู่ในระดับเพียงพอ อันเป็นผลมาจากการบริหารจัดการและควบคุมการระบาดของฝ่ายสาธารณสุขและพนักงานเจ้าหน้าที่ ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทุกภาคส่วนที่ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกย่องให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและรับมือกับการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประกอบกับข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานว่า ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหรือเดินทางเข้ามาในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว แม้จะตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้างแต่ก็มีจำนวนน้อยและสามารถควบคุมได้ จึงมิได้เป็นปัจจัยที่มีผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลกที่หลายประเทศได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคและเปิดประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ และเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขจึงได้พิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้

ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และมาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้

ในส่วนของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นอกสถานที่ตั้งหน่วยงานตามความเหมาะสม

ข้อ 3 การปรับปรุงมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้พื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสำหรับพื้นที่สถานการณ์ที่จำแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวังสูงและเขตพื้นที่เฝ้าระวัง ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 3 และข้อ 4 แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยให้ปรับมาตรการควบคุม ดังนี้

การบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในระดับ SHA PLUS ขึ้นไป หรือผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรคโควิด-19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และจำกัดการให้บริการและบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกินเวลา 24.00 น.

ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณีพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่

ข้อ 4 การปรับปรุงการกำหนดผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อประโยชน์ในการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร การควบคุมและการป้องกันมิให้เกิดการระบาดของโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดในปัจจุบันและนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“การกำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งจะต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหลักเกณฑ์การดำเนินการในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้เป็นไปตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กำหนด โดยแบ่งตามประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้

(1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Vaccinated Persons)

(2) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Unvaccinated / Not Fully Vaccinated Persons)

(3) ผู้มีเหตุยกเว้นที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญเข้ามาในราชอาณาจักรตามความจำเป็น”

ข้อ 5 การเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ให้กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 โดยให้กำกับ ติดตาม เฝ้าระวัง และทบทวนมาตรการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อมุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงประโยชน์ของทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

(อ่านฉบับเต็ม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/098/T_0036.PDF)


ขณะเดียวกัน ราชกิจจานุเบกษา ยังได้แผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 8/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีการปรับโซนสีในพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวังสูง (พื้นที่สีเหลือง) รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด

  • จังหวัดกาฬสินธุ์
  • จังหวัดกำแพงเพชร
  • จังหวัดขอนแก่น (ยกเว้นอำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียงอำเภอเวียงเก่า และอำเภออุบลรัตน์)
  • จังหวัดจันทบุรี (ยกเว้นอำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอท่าใหม่)
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดชัยนาท
  • จังหวัดชัยภูมิ
  • จังหวัดชุมพร
  • จังหวัดเชียงราย (ยกเว้นอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเวียงป่าเป้า)
  • จังหวัดตรัง
  • จังหวัดตราด (ยกเว้นอำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง)
  • จังหวัดตาก
  • จังหวัดนครนายก
  • จังหวัดนครปฐม
  • จังหวัดนครพนม
  • จังหวัดนครราชสีมา (ยกเว้นอำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอพิมาย อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอสีคิ้ว)
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • จังหวัดนครสวรรค์
  • จังหวัดนราธิวาส
  • จังหวัดน่าน
  • จังหวัดบึงกาฬ
  • จังหวัดบุรีรัมย์ (ยกเว้นอำเภอเมืองบุรีรัมย์)
  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ยกเว้นเทศบาลเมืองหัวหิน เฉพาะตำบลหัวหิน และตำบลหนองแก)
  • จังหวัดปราจีนบุรี
  • จังหวัดปัตตานี
  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ยกเว้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอภาชี และอำเภออุทัย)
  • จังหวัดพัทลุง
  • จังหวัดพิจิตร
  • จังหวัดพิษณุโลก
  • จังหวัดเพชรบูรณ์
  • จังหวัดแพร่
  • จังหวัดพะเยา
  • จังหวัดมหาสารคาม
  • จังหวัดมุกดาหาร
  • จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • จังหวัดยะลา (ยกเว้นอำเภอเบตง)
  • จังหวัดยโสธร
  • จังหวัดร้อยเอ็ด
  • จังหวัดระนอง (ยกเว้นเกาะพยาม)
  • จังหวัดราชบุรี
  • จังหวัดลพบุรี
  • จังหวัดลำปาง
  • จังหวัดลำพูน
  • จังหวัดเลย (ยกเว้นอำเภอเชียงคาน)
  • จังหวัดศรีสะเกษ
  • จังหวัดสกลนคร
  • จังหวัดสตูล
  • จังหวัดสมุทรปราการ (ยกเว้นบริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ)
  • จังหวัดสมุทรสงคราม
  • จังหวัดสมุทรสาคร
  • จังหวัดสระแก้ว
  • จังหวัดสระบุรี
  • จังหวัดสิงห์บุรี
  • จังหวัดสุโขทัย
  • จังหวัดสุพรรณบุรี
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ยกเว้นเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย)
  • จังหวัดสุรินทร์ (ยกเว้นอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอท่าตูม)
  • จังหวัดหนองคาย (ยกเว้นอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอสังคม)
  • จังหวัดหนองบัวลำภู
  • จังหวัดอ่างทอง
  • จังหวัดอุดรธานี (ยกเว้นอำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอหนองหาน)
  • จังหวัดอุทัยธานี
  • จังหวัดอุตรดิตถ์
  • จังหวัดอุบลราชธานี
  • จังหวัดอำนาจเจริญ


พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว (พื้นที่สีฟ้า) รวมทั้งสิ้น 28 จังหวัดAds by optAd360

  • กรุงเทพมหานคร
  • จังหวัดกระบี่
  • จังหวัดกาญจนบุรี
  • จังหวัดขอนแก่น (เฉพาะอำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า และอำเภออุบลรัตน์)
  • จังหวัดจันทบุรี (เฉพาะอำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอท่าใหม่)
  • จังหวัดชลบุรี
  • จังหวัดเชียงราย (เฉพาะอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเวียงป่าเป้า)
  • จังหวัดเชียงใหม่
  • จังหวัดตราด (เฉพาะอำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง)
  • จังหวัดนครราชสีมา (เฉพาะอำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอพิมาย อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอสีคิ้ว)
  • จังหวัดนนทบุรี
  • จังหวัดบุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมืองบุรีรัมย์)
  • จังหวัดปทุมธานี
  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะเทศบาลเมืองหัวหิน เฉพาะตำบลหัวหิน และตำบลหนองแก)
  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอภาชี และอำเภออุทัย)
  • จังหวัดพังงา
  • จังหวัดเพชรบุรี
  • จังหวัดภูเก็ต
  • จังหวัดยะลา (เฉพาะอำเภอเบตง)
  • จังหวัดระนอง (เฉพาะเกาะพยาม)
  • จังหวัดระยอง
  • จังหวัดเลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน)
  • จังหวัดสงขลา
  • จังหวัดสมุทรปราการ (เฉพาะบริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ)
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย)
  • จังหวัดสุรินทร์ (เฉพาะอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอท่าตูม)
  • จังหวัดหนองคาย (เฉพาะอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอสังคม)
  • จังหวัดอุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอบ้านดุง
    อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอหนองหาน)


(อ่านฉบับเต็ม)


นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 9/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) โดยขอยกเนื้อหามาดังนี้ ว่า

โดยที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันโรคให้เหมาะสมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แต่ผู้เข้ารับการรักษาที่เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรงทั้งระดับวิกฤติและระดับป่วยหนักยังอยู่ในขีดความสามารถที่ฝ่ายสาธารณสุขสามารถบริหารสถานการณ์ได้ ประกอบกับข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานว่า ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหรือเดินทางเข้ามาในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว แม้จะตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้างแต่ก็มีจำนวนน้อยและสามารถควบคุมได้ จึงมิได้เป็นปัจจัยที่มีผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลกที่หลายประเทศได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรค และเปิดประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

จึงเห็นควรปรับมาตรการป้องกันโรคให้มีความเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 (2) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่ง ศบค. ที่ 7/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข้อ 2 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มิให้เกิดการแพร่ระบาดในราชอาณาจักร และเพื่อให้มาตรการและหลักเกณฑ์สำหรับผู้เดินทางเข้าในราชอาณาจักรมีความสอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงให้กำหนดมาตรการป้องกันโรคและหลักเกณฑ์การดำเนินการในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร 3 ประเภท ได้แก่

(1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Vaccinated Persons)

(2) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Unvaccinated / Not Fully Vaccinated Persons)

(3) ผู้มีเหตุยกเว้นที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน กำหนด อนุญาต หรือเชิญเข้ามาในราชอาณาจักรตามความจำเป็นโดยกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทุกประเภท ตามแนบท้ายคำสั่งนี้

ข้อ 3 ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) กำกับดูแล ประสานงาน และบูรณาการการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้การเดินทางเข้าราชอาณาจักร ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศทางบกผ่านจุดผ่านแดนถาวร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับมาตรการที่ ศบค. มีมติเห็นชอบแล้ว และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนบท้ายคำสั่งนี้

ข้อ 4 ให้หลักฐานการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรซึ่งผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ดำเนินการเป็นไปตามที่ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศ (ศปก.กต.) กำหนด ตามคำสั่ง ศบค. ที่ 7/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 และบรรดาคำสั่ง ศบค. ที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป โดยผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับผู้เดินทางเข้ามา

ในราชอาณาจักรตามแนบท้ายคำสั่งนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น.

(อ่านฉบับเต็ม)