เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 31 ม.ค. 2567 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมปรึกษาหารือ ลงมติ และจัดทำคำวินิจฉัยในคดี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความพุทธะอิสระ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขณะเป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่ และศาลจะต้องสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าวหรือไม่

ต่อมาเวลา 14.00 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย โดยมีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความพุทธะอิสระ ในฐานะผู้ร้อง มาฟังคำวินิจฉัย ขณะที่นายพิธาและพรรคก้าวไกล ไม่ได้มาฟัง

คดีนี้ ประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย คือ การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการใช้สิทธิเสีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่

โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การตรากฎหมายหรือพ.ร.บ.เป็นกฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้ปฏิบัติทั่วไป ให้สังคมอยู่ได้อย่างสงบสุข ต้องมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและเป็นธรรม ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ในการตรากฎหมาย ซึ่งจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ และเมื่อผ่านสภาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังมีความชอบตรวจสอบร่างกฎหมายได้ ตามมาตรา 49

ทั้งนี้ กฎหมายคุ้มครองมิให้มีการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ ส่งผลหรือบั่นทอนการทำลายพื้นฐานของประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ให้เสื่อมทรามหรือสิ้นสลายไป ซึ่งพระมหากษัตริย์ ดำรงอยู่ในฐานะเคารพสักการะ ละเมิดมิได้

ดังนั้น แม้การเสนอร่างกฎหมาย แก้ไข 112 จะเป็นหน้าที่ของสส. ผ่านกระบวนการตามนิติบัญญัติมาตรา 133 และร่างกม.ไม่ได้รับการบรรจุในวาระสภา เมื่อการเสนอร่างกฎหมายนี้ดำเนการโดยสส.พรรคก้าวไกลทั้งสิ้นเพียงพรรคเดียว และผู้ถูกร้องทั้งสอง ยอมรับต่อศาบว่าเสนอกกต.เพื่อใช้เป็นนโยบายรรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นการทั่วไป 2566 และปัจจุบันยังเป็นนโยบายแก้ไขมาตรา 112 อยู่บนเว็บไซต์ของพรรคก้าวไกล

การที่ผู้ถกร้องทั้ง 2 ใช้การแก้ไขมาตรา 112 เป็นนโยบายของพรรคในากรหาเสียงเลือกตั้ง แม้จะไม่มีร่างแก้ไขว่าจะแก้ไขในประเด็นใด แต่ตามเว็บไซต์ของผู้ถูกร้อง กล่าวถึงการแก้ไขเพิ่มเติมม.112 ทำนองเดียวกับร่างพ.ร.บแก้ไขเพิ่มเติม เกี่วกับความผิดหมิ่นประมาท 25 มี.ค.2564 ที่ยื่นต่อประธานสภา

ดังนั้น ถือได้ว่าผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกับผู้ถูกร้องที่ 1 เสนอร่างพรบ.แก้ไข ที่ยื่นต่อประธานสภา อีกทั้งเนื้อหาของร่างกม.ที่ทั้งสองเสนอ เป็พฤติการณ์แสงออกว่าต้องการลดทอนการคุ้มครองสถานบันพระมหากษัตริย์ ลงโดยผ่านร่างกฎหมาย สร้างความชอบธรรมโดยช่อนเร้นผ่านกระบวนการรัฐสภา

ผู้ถูกร้องยังมีพฤติการณ์รณรงค์หาเสียงเสนอแนวคิดดังกล่าวให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง หากประชาชนไม่รู้เจตนาที่แท้จริง อาจหลงตามความคิดเห็นผ่านตามเสนอร่างกำหมาย และนโยบายพรรค ประกอบกับศาลรธน. 3/2562 ว่าสาระสำคัญของการเป็นหลักการขั้นพื้นฐานการปกครองของไทย ระบุไว้ในความพระราชหัตเลขา เมื่อปี 2547 ว่า พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ดำรงฐานะอยู่เหนือการเมือง ไม่เข้าไปแข่งขันทางการเมืองอาจนำมาซึ่งการถูกติติง

ดังปรากฎในคำวินิจศาลว่าพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย อยู่เหนือการเมืองและเป็นกลางทางการเมือง

ดังนั้น ผู้ถูกร้องทั้งสองเสนอแก้ 112 เพื่อลดสถานะของพระมหากษัตริย์ เป็นนโยบายพรรคหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการใช้นโยบายนำพระมหากษัตริย์ลงมาเพื่อหวังผลคะแนนเสียง เพื่อชนะเลือกตั้ง มุ่หมายให้ พระมหากษัตริย์เป็นคู่ขัดแย้งกีบประชาชน อันอาจนำมาซึ่งการโจมตี ติเตียนขัดหลัการปชต.อันมีก.เป็น

การที่ผู้ถูกร้องเสนอแก้ไขเพิ่มเติมม.112 และใช้เป็นการนโยบายพรรค มีเจตนาเซาะกร่อน บ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ชำรุด ทรุดโทรมเสื่อมทราม นำไปสู่การล้มล้างการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์

ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องจึงฟังไม่ขึ้น

การที่ผู้ถูกร้องยุยงปลุกปั่นให้ยกเลิกม.112 โดยมีกลุ่มยืนหยุดขัง กลุ่มบุคคลเป็นสมาชิกพรรคจัดชุมนุมยกเลิก 112 มีพฤติการณ์ให้ยกเลิก 112 โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว มีพฤติกรรมเป็นนายประกันให้ผู้ถูกดำเนินคดี 112 ปรากฎว่าผู้ถูกร้องที่ 1 กก.บห. สส.ในอดีตและปัจจุบัน และสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 มีหลายคนกระทำผิดตามม.112 ได้แก่ นายปิยรัฐ จงเทพ น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว น.ส.รักชนก ศรีนอก


ดังนั้น จึงอ้างว่าเป็นความเห็นต่างหรือคดีการเมืองการเข้าร่วมชุมนุมหรือเป็นหลักประกันให้ผู้ต้องหาคดี 112 หรือเป็นผูต้องหา 112 ถือว่าเป็นกลุ่มการเมืองที่ต้องการให้ยกเลิกกฎหมายที่คุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์


ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยที่มีเจตนาทำลายล้างพระทหากษัตริย์เป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย ศาลได้วางบรรทัดฐานว่า พระมหากษัตริย์ดำรงสถานะอยู่เหนือการเมือง การกระทำใดๆ ทำให้สถาบันสูญเสียสถาบันการเป็นกลางทางการเมือง เป็นการเซาะกร่อน เข้าลักาณะล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้ผู้ถูกร้องแย้งว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพก็ตาม แต่ต้องไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น การใช้เสรีภาพต้องไม่ขัดต่อความสงบ ง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่ามีการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อทำลายระบอบปชต. โดยซ่อนเร้นหรือผ่านการนำเสนอการแก้ๆขกฎหมาย แม้เหตุกาณ์คำร้องผ่านพ้นไปแล้วแต่การรณรงค์ให้กเลิกประมวลกฎหมยอาญาดำเนินการต่อเนื่อง เป็นขบวนการ ใช้หลายอย่งประกอบกันทั้งการชุมนุม การเสนอร่าง การใช้เป็นนโยบายหาเสียง หากปล่อยให้ทำต่อไป่อมไม่ไกลเกินเหตุการล้มล้าง
จึงเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 49 วรรคหนึ่ง ส่วนวรรคสอง ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ สั่งเลิกการกระทำดังกล่าง วินิจฉัยว่าทั้งสองเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง และสั่งการให้ผู้ถูกร้อ เลิกการกระทำ พูด คิดเห็น พิมพ์โฆษณา หรือสื่อทางอื่นเพื่อให้ยกเลิกมาตรา 112 และไม่ให้แก้ไข112 โดยไม่ใช้วิธีการโดยชอบ