ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก ระบุว่าเมื่อได้งบมา ก็ทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการ (FS: Feasibility Study) โดยไม่จำเป็นต้องทำ EIA ที่ใช้เวลายาวนาน ลักษณะงานก่อสร้างเขื่อน ก่อสร้างในช่องลัดของแม่น้ำน่าน และจะปิดกั้นแม่น้ำน่านเดิม เหมือนกับเขื่อนนเรศวร อ.พรหมพิราม พิษณโลก แต่ใหญ่พอๆกับ เขื่อนผาจุก จ.อุตรดิตถ์ โดยก่อสร้างประตูระบายน้ำขนาด 7 ช่อง กว้าง 12.5 ม. x สูง 8.0 ม. เก็บกักน้ำในแม่น้ำน่าน 38.5 ล้าน ลบ.ม. ช่วยพื้นที่การเกษตรประมาณ 28,700 ไร่
เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จก็จะช่วย ยกระดับน้ำในแม่น้ำน่านให้สูงขึ้น ระดับที่สูงยังช่วยรักษาระบบนิเวศ ไม่ทำให้ตลิ่งพังไว สร้างความมั่นด้านอุปโภค บริโภค ก็คือการผลิตน้ำประปา และช่วยปศุสัตว์ ก็คือ เลี้ยงปลากระชัง อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำน่านอีกด้วย
ทั้งนี้นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ผลักดันการสร้างเขื่อนท้ายเมืองพิษณุโลก เพราะเขื่อนห่างจากเขื่อนสิริกิติ์ 200 กม. ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งยั่งยืน ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ มาพิษณุโลก (15 ต.ค.66 )เพื่อตรวจโรงผลิตน้ำประปา แก้ปัญหาคนเมืองทนทุกข์กับน้ำประปาขุ่นในฤดูฝน สั่งการให้ทำทันทีปี 67 ตามงบ 1.6 พันล้าน สร้าง 5 ปี ไม่ต้องเวนคืนที่ดิน-ไม่ต้องทำ EIA หากเขื่อนท้ายเมืองสร้างเสร็จ จะทำให้น้ำนิ่งและใส ง่ายต่อการบำบัดก่อนป้อนสู่ท่อประปาหล่อเลี้ยงคนเมืองสองแคว