สธ.แถลงชัด แนวททางการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ชี้ ให้ไฟเซอร์ บุคลากรทางการแพทย์ ถ้ามาช้าให้แอสตราก่อน ยัน มีแนวทางหาวัคซีนตัว เหตุไวรัสกลายพันธุ์ไม่หยุด
ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. กล่าวว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ 96 ประเทศ สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย จากสายพันธุ์แอลฟา (อังกฤษ) เปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ เดลตา (อินเดีย) ภาพรวมทั้งประเทศ 30% เฉพาะ กทม. 50% แล้วโดยเฉพาะในช่วง เดือนมิ.ย.-ก.ค. ซึ่งเดลตา มีคุณสมบัติแพร่เชื้อได้เร็ว ทำให้ทั่วประเทศอีก 2 เดือนต่อไปจากนี้ อาจจะเป็นสายพันธุ์เดลตา แอลฟา ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น 60%-70% แต่เดลตา ระบาดเร็วกว่า แอลฟา อีก 40% ทำให้คาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะกลายเป็นสายพันธุ์เดลตา ในเร็วๆ นี้
โดยรวม เดลตาไม่ได้รุนแรงกว่า แอลฟา แต่จะทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติได้เร็วขึ้น และปอดอักเสบ ได้เร็วขึ้น เช่น จากเดิมติดเชื้อ 7-10 วัน หลังติดเชื้อจะต้องการออกซิเจน แต่ใช้เวลาเดลตา 3-5 วัน จะต้องการเครื่องช่วยหายใจ เมื่อมีคนติดเชื้อมาก ก็จะต้องการเตียงไอซียูเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้สถานการณ์เรื่องเตียงตึงมากจริงๆ หากปล่อยเหตุการณ์แบบนี้ไปเรื่อยๆ ระบบสาธารณสุข จะอยู่ไม่ได้ โดยวัคซีนทำมาจากเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมคือ อู่ฮั่น ทำให้การกลายพันธุ์ดื้อต่อวัคซีน จึงต้องหาวัคซีนเจเนอเรชั่นใหม่ เพื่อมาควบคุมการกลายพันธุ์ ซึ่งยังไม่มีวัคซีนชนิดใดเลย ไฟเซอร์ แอสตราฯ กำลังผลิตวัคซีนชนิดใหม่เพื่อต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ คาดว่าเร็วที่สุดอาจจะปลายปีนี้ ต้นปีหน้า
“ระหว่างที่รอ ต้องหากระบวนการบูสโดสให้เพิ่มขึ้นเพื่อไปต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ให้ได้ โดยเรื่องนี้ถูกหารือมาเป็นเวลา 2-3 เดือนแล้ว เรื่องเข็ม 3 หรือฉีดไขว้ยี่ห้อ แต่ไม่ได้มีการออกข่าวเป็นทางการ”ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าว
ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า เมื่อพิจารณาข้อมูลวัคซีนปัจจุบัน เมื่อเจอสายพันธุ์เดลตา ประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลง งานวิจัยในอังกฤษพบว่า เช่น ไฟเซอร์ เมื่อพบ เบตา ภูมิคุ้มกันลดลง 7.5 เท่า เมื่อพบเดลตา ลดลง 2.5เท่า แอสตราเซเนกา เมื่อพบ เบตา ภูมิคุ้มกันลดลง 9 เท่า เมื่อพบเดลตา ลดลง 4.3 เท่า ส่วนซิโนแวค งานวิจัยของ สวทช.ร่วมกับศูนย์วิจัยจุฬาฯ พบว่า ถ้าเจอเดลต้า ภูมิลดลง 4.9 เท่า หากแปลงเป็นตัวเลขทางคลินิก ความสามารถกระตุ้นภูมิต้านทาน mRNA หรือ ไฟเซอร์ ดีที่สุด รองมาเป็นแอสตราฯ และ ซิโนแวค
ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบในเรื่องของการป้องกันโรค ไฟเซอร์ป้องกันสายพันธุ์เดลตาลดลงจาก 93% เหลือ 88% แอสตร้า ป้องกันสายพันธุ์เดลตา 66 เหลือ 60% ป้องกันการอยู่ รพ. เจ็บป่วยรุนแรง ไฟเซอร์ 96% แอสตร้า 92% ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ อยากย้ำว่าการป้องกันลดลง แต่การป้องกันเจ็บป่วยรุนแรง และตาย สูงมาก ส่วนซิโนแวค ข้อมูลน้อย ไม่มีข้อมูลป้องกันได้เท่าไร ถ้าเทียบจากภูมิต้านทาน คงป้องกันเดลตาไม่ดีแน่ แต่ซิโนแวค 2 เข็ม ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงเข้า รพ. หรือป้องกันตายมากกว่า 90% จากข้อมูลของหลายประเทศ และประเทศไทย ที่ภูเก็ตฉีดเยอะที่สุด
“ตอนนี้เราต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า วัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีนไม่มีทางป้องกัน 100% แต่ละตัวมีประสิทธิภาพแตกต่างออกไป แต่สำคัญคือแม้ไม่สามารถป้องกันได้ ประสิทธิภาพป้องกันลดลง แต่ประสิทธิภาพป้องกันเจ็บป่วยรุนแรงเข้า รพ. และตายยังสูงมาก เกิน 90% แม้เป็นซิโนแวค ที่อยากจะย้ำ เพราะการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรง ทำให้ไม่ต้องไป รพ. เตียงเราจะได้มีพอ ตอนนี้แพทย์ พยาบาล ไม่ไหวแล้ว อย่างน้อยวัคซีนป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงเข้ารพ.เป็นผู้ป่วยหนัก มันคุ้มค่ามหาศาลสำหรับชีวิตแล้ว”
ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า การฉีดวัคซีน ไม่ได้ป้องกันติดเชื้อได้ ป้องกันได้ 60-70% โดยเฉลี่ย ท่านจึงต้องช่วยตัวเอง มาตรการด้านสาธารณสุข ใส่แมสก์ ล้างมือบ่อยๆ ใช้แอลกอฮอลืเจล เว้นระยะห่าง เลี่ยงไปที่แออัด ซึ่งพบว่า อเมริกาฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม รัฐแมสซาซูเซสต์ เก็บ 3.7 ล้านคน ฉีดครบ 2 เข็ม ยังเกิดติดเชื้อโควิดใหม่ 0.1% เหมือนดูน้อย แต่คูณจำนวนคนเป็นล้านเยอะมาก จึงย้ำว่าวัคซีนประโยชน์แน่ แต่ไม่ใช่เรื่องป้องกัน แต่ช่วยชีวิตไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงไม่ให้ตาย ปกป้องระบบสาธารณสุขไม่ให้เกินกำลัง
ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า ตอนนี้มีข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ แม้คนไข้ติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติ ข้อมูลพบว่า ภูมิต้านทานตกเร็ว หลัง 3 และ 6 เดือนหลังติดเชื้อ บางคนไม่มีภูมิต้านทานขึ้นเลย บางคนเจ็บป่วยรุนแรง ใส่ช่วยหายใจ 40-50 วัน หลังฉีดวัคซีน พบว่าภูมิต้านทานขึ้นแน่ แต่ 3-6 เดือนมันลง นักวิจัยที่ออกซ์ฟอร์ดเก็บข้อมูล มันลงระยะเวลามีชีวิตอยู่ลงครึ่งระดับครึ่งหนึ่งใช้เวลา 3-4 เดือน ฉะนั้นถ้าลดลงครึ่งหนึ่งอาจจะป้องกันไม่ได้ ถ้าภูมิไม่ได้สูงมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องการบูสเตอร์โดส ไม่อยากเรียกเข็มที่ 3 เพราะตอนนี้ยังไม่มีไกด์ไลน์จากองค์การอนามัยโลกหรือประเทศใดว่าต้องฉีดเข็มสาม ซึ่งขณะนี้ มีอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรน ที่ 2 เข็มแรกฉีดซิโนแวค และเข็ม 3 ฉีดซิโนฟาร์ม อาจจะเป็นเพราะหาเชื้อเป็นไม่ได้ ปัจจุบันข้อมูลของแต่ละประเทศน้อยมากในการฉีดเข็มที่ 3
“ขณะนี้ ประเทศไทยมีแอสตร้าฯ กับซิโนแวค ซิโนฟาร์ม โมเดอร์นากำลังเข้ามา กรุณาฉีดให้ครบ 2 เข็มให้ได้ก่อน เมื่อได้เข็มหนึ่งจะต้องไปฉีดเข็มสองให้ได้ตามกำหนด อย่าเพิ่งนึกถึงเข็มสาม ถ้าฉีดแอสตรา ห่างสามเดือน อย่าเพิ่งไปจองเลย พูดจากทางวิชาการ เพราะว่า จะได้ mRNA รุ่นเก่า เนื่องจากแอสตร้าเว้นสามเดือน ฉีดเข็มสามเว้น 6 เดือน จะได้ mRNA เจนเนอเรชั่นใหม่ ฤทธิ์ข้างเคียงอาจน้อยลง ปลอดภัยมากกว่า”ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า
ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า มีมติว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จะต้องได้บูสเตอร์ก่อนเป็นกลุ่มแรก โดยต้องได้ mRNA เป็นแอสตราฯ หรือ ไฟเซอร์ ที่กำลังจะได้มาจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส ฉะนั้น คำว่าบูสเตอร์โดส ไม่เฉพาะคนทั่วไป ไม่มีประเทศไหนกำหนดแนวทางไกด์ไลน์หรือแม้กระทั่งองค์การอนามัยโลก ไม่มี ขณะนี้ ศิริราช จุฬา ทำการศึกษาเข็มสามว่าตัวไหนจะเหมาะ ตัวไหนดีที่สุดอีก 1 เดือนรู้ผล
จะเป็นการศึกษาแรกๆ ในโลก ประเทศไทยแรกๆ ในโลกกำหนดไกด์ไลน์ ว่า การให้บูสเตอร์โดสจะใช้อะไรบ้างอย่างไร และการใช้ไม่ได้ใช้สำหรับคนทั่วไป แต่ใช้สำหรับผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ข้อกำหนดที่ 2 จะให้กับผู้มีความเสี่ยง กลุ่มโรคต่างๆ สำหรับเด็ก ยังไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย เพราะเด็กติดเชื้อไม่มีอาการ ไม่รุนแรง ทำให้ต้องฉีดให้กลุ่มเสี่ยง ผู้ใหญ่ที่เสี่ยง มิฉะนั้น ตายวันละ 50-60 คนไม่ไหว ส่วน 20 ล้านโดสที่จะมาไตรมาส 4 มีเวลาจะระดมฉีดให้เต็มที่ ปัจจุบันตอนนี้บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน ฉีดซิโนแวค 2 เข็มครบเป็นเวลา 3-4 เดือน ได้เวลาที่ต้องต้องบูสเตอร์โดส หากไฟเซอร์ ยังไม่มา จะฉีดแอสตร้าให้ก่อน
“บูสเตอร์โดส มีความสำคัญแน่นอนน แต่อย่าดาวน์เกรด ซิโนแวค เพราะลดการเจ็บป่วยรุนแรงตาย ไม่แพ้วัคซีนตัวอื่น เรายังมีเวลา 3-6 เดือนข้างหน้า ที่จะกำหนดออกมาให้ประชาชนได้ทราบ”
ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวว่า สำหรับผู้ที่สงสัย ว่า ฉีดเข็ม 1 ซิโนแวค เข็ม 2 ฉีดแอสตร้า ได้หรือไม่ องค์การอนามัยโลก ไม่แนะนำให้เปลี่ยน ขอให้ฉีดเข็ม 1- 2 ชนิดเดียวกันก่อน ได้ประโยชน์อย่างที่บอก และไม่ต้องการให้ผลมากวนกัน ผลเสีย ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ ออกฟอร์ดศึกษาการฉีดข้ามกันเกือบ 10 คู่ ข้อมูลเบื้องต้น แอสตรา 2 เข็ม ภูมิขึ้น 1300 ยูนิต ไฟเซอร์เข็มหนึ่ง แอสตร้าเข็มสอง ภูมิต้านทานเพิ่มมากกว่า แอสตร้า 2 เข็ม 5 เท่า ถ้าแอสตราเข็ม 1 ไฟเซอร์เข็ม 2 ภูมิมากกว่า แอสตรา 2 เข็ม 9 เท่า ไฟเซอร์ 2 เข็ม เพิ่ม 10 เท่า หมายถึงถ้าเริ่มด้วยแอสตราเข็มสองไฟเซอร์ ได้เกือบเท่าไฟเซอร์ 2 เข็ม แต่ยังเป็นแค่การทดลอง ยังไม่เป็นข้อกำหนด อยู่ระหว่างศึกษา จึงขอให้ฉีดตามคำแนะนำก่อน
“อยากจะย้ำว่าโควิดกลายพันธุ์ตลอด ตอนนี้กำลังคิดเจนเนอเรชั่นใหม่อยู่ อย่าเพิ่งรีบร้อน ขณะนี้ตั้งคณะทำงานเอาผู้เชี่ยวชาญทั้งประเทศมาดูว่า เจนใหม่ตัวไหนบ้างมีแนวทางที่ดี จะได้รีบไปจองก่อน ออกมาน่าจะเป็นต้นปีหน้าไปแล้ว เราเตรียมการอยู่แล้ว เดี๋ยวจะหาว่า สธ.ไม่ทำอะไรเลย เราทำแต่ไม่ได้พูด ดังนั้น เรื่องสลับเข็ม 1กับ 2 อย่าเพิ่ง รอดูคำแนะนำก่อน กำลังให้ผู้เชี่ยวชาญศึกษา รอข้อมูลต่างประเทศ และวัคซีนเจเนอเรชั่นใหม่จะครอบคลุมสายพันธุ์ใหม่ เหมือนหวัดใหญ่ที่เปลี่ยนทุกปี ใจเย็นรอคำแนะนำ สธ.ก่อน เราตั้งคณะทำงาน และประชุมทุกครั้ง อ.ปิยะสกล มอบให้ผมเป็นโฆษกมาแถลงทุกครั้ง เราขะพิจารณาสลับเข็ม เจนใหม่วันศุกร์นี้ คณะทำงานไปทำงาน ให้เวลาเร็วมารายงานวันศุกร์นี้ ประชุม 9 โมงถึงเที่ยง เราจะแถลงที่ราชวิถี เพราะประชุมที่นั่น” ศ. เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าว
ที่มา : khaosod