เช่น สายพันธุ์เดลตา ดังนั้นถ้าเราอยากเอาชนะโควิดสายพันธุ์ใหม่ เราต้องทำความเข้าใจโควิดให้มากขึ้น เพื่อหาทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพ #ช่วยกันยกระดับป้องกันโควิด จากโควิด 19 สายพันธุ์แรกเริ่ม ผู้ติดเชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนที่ไม่มีภูมิต้านทาน และไม่ป้องกันตัวได้ 2.4-2.6 คน ขณะที่สายพันธุ์อัลฟาที่โจมตีประเทศไทยไปก่อนหน้านี้ การแพร่เชื้อจะอยู่ที่ 4-5 คนในเงื่อนไขเดียวกัน แต่เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตาที่กำลังกลายเป็นตัวอันตรายหลักในตอนนี้ ผู้ติดเชื้อ 1 คนสามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ถึง 5-8 คนนอกจากนี้ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า โควิดสายพันธุ์เดลตาเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ปุ่มหนามของเชื้อโควิด (Spike Protein) สายพันธุ์ใหม่ที่เปรียบเหมือนลูกกุญแจจะมีรูปทรงที่เสียบได้พอดีกับตัวรับบนผิวเซลล์มนุษย์ (Receptor) ซึ่งเปรียบเหมือนแม่กุญแจ โควิดสายพันธุ์ใหม่จึงสามารถเกาะและเข้าสู่เซลล์ร่างกาย และไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของเราอย่างง่ายดาย ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ เช่น สายพันธุ์เดลตา จะมีอาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา คือ ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก ส่วนอาการที่เคยพบในสายพันธุ์เดิมที่ช่วยให้แยกการติดเชื้อโควิดจากไข้หวัดทั่วไป เช่น การสูญเสียการรับรส กลับไม่ค่อยพบ ด้วยเหตุนี้ถ้าผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา ไม่ระวังตัว คิดว่า ตัวเองเป็นหวัดธรรมดา ยังออกไปใช้ชีวิตตามปกติ ย่อมเสี่ยงต่อการแพร่ไปสู่คนอื่นโดยไม่รู้ตัว สวมหน้ากากเสมอ โดยเฉพาะเวลาพูดคุยกับใครก็ตาม หากไปในสถานที่มีความเสี่ยงอาจสวมหน้ากากสองชั้น (หน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัย) หรือใช้ Face shield ร่วมด้วย เช่น การใช้รถโดยสารสาธารณะ• หน้ากากอนามัยใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดคนอื่นในพื้นที่ปิด• หน้ากากผ้า หรือหน้ากากยูรีเทนใส่เวลาทำกิจกรรมร่วมกับคนไม่มาก และสามารถเว้นระยะห่างได้• ทั้งนี้ต้องสวมหน้ากากอย่างถูกวิธี ปิดจมูก และปากให้ดี ถ้ามีแกนโลหะด้านบนให้กดให้แนบกับหน้า ดึงหน้ากากด้านล่างลงมาใต้คาง • ฉากกั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันฝอยละอองไม่ให้กระจายสู่กันได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ต้องเลือกใช้และติดตั้งอย่างถูกต้อง• ฉากกั้นต้องสูงกว่าศีรษะขณะนั่งหรือยืน 10 เซนติเมตรขึ้นไป• ในสถานที่ที่ไม่อาจเว้นระยะห่างระหว่างกันได้มากกว่า 1 เมตร ต้องติดตั้งฉากกั้นระหว่างซ้ายหรือขวาด้วย ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น คิดเสมือนว่า ทุกคนที่เราได้เจอมีโอกาสติดเชื้องดเว้นการสังสรรค์ร่วมกัน และรักษาระยะห่างกับผู้คนอย่างน้อย 2 เมตร เพราะมีรายงานการสอบสวนโรคในต่างประเทศพบว่า มีผู้ติดเชื้อหลายราย ที่อาจแพร่เชื้อถึงกัน แม้อยู่ด้วยกันในระยะเวลาไม่นาน และส่วนใหญ่การติดเชื้อมักมาจากคนใกล้ชิดที่เราคิดว่าปลอดภัยการอยู่ร่วมกันในบ้าน ในช่วงที่มีการระบาด ควรเพิ่มความระมัดระวัง รักษาระยะห่าง สวมหน้ากากเมื่อมีการพูดคุยกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรค ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่สม่ำเสมอ ต้องอย่างน้อย 20 วินาที ต่อด้วยปล่อยน้ำไหลผ่านมืออีก 15 วินาที และต้องไม่เอามือจับต้องใบหน้า (ตา จมูก ปาก) เพราะเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายด้วยเวลาที่น้อยกว่าคุณเสียเวลาล้างมือการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70-95% ก็ต้องทำความสะอาดตั้งแต่ปลายนิ้ว ระหว่างนิ้ว ไปถึงข้อมือ การฉีดวัคซีนไม่ว่าชนิดใดช่วยป้องกันคุณจากการป่วยรุนแรงได้ เมื่อรับเชื้อ คุณอาจมีอาการเหมือนเป็นหวัดธรรมดา หรืออาจมีเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ดังนั้น ถ้าการ์ดตก ไม่ระวัง คุณอาจเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่คนที่อ่อนแอกว่าหรือยังไม่ฉีดวัคซีนได้ ดังนั้นแม้ฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องคงมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้นต่อไป ที่มา : socialmarketingth แนะแนวเรื่อง พักชำระหนี้ 2 เดือน! รัฐบาล แจงรายละเอียด เร่งช่วยลูกหนี้ ‘เปราะบาง’ ทั่วประเทศ ‘ฟู้ดแพนด้า’ ขออภัยอย่างสูง ร้านหลายแห่งปฏิเสธเป็นพันธมิตร