ศบค.พบ 13 จว.เหลือเตียงพร้อมใช้ต่ำกว่า 20% นครปฐมอาการหนักมากกว่า 10% พบเพชรบุรีอัตราเสียชีวิตสูงสุด 3.4% ระบุ 29 จว.สีแดงเข้ม ต้องเร่งฉีดเพิ่ม
เมื่อวันที่ 11 ส.ค. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) คลัสเตอร์ใหม่วันนี้ ได้แก่ 1.สมุทรสาคร บริษัทปิโตรเลียม อ.เมือง 19 ราย 2.ราชบุรี บริษัทอาหารสำเร็จรูป อ.เมือง 32 ราย และ 3.ปราจีนบุรี บริษัทเครื่องดื่ม อ.บ้านสร้าง 26 ราย
อย่างไรก็ตาม ยังพบคลัสเตอร์เก่ารายงานส่วนใหญ่อยู่ในโรงงาน ตอนนี้จึงต้องทำบับเบิล แอนด์ ซีล ขอลูกจ้างให้ความร่วมมือกับนายจ้าง หลายแห่งต้องปิดโรงงานไปตอนระบาดจำนวนสูง แต่หลายแห่งสัดส่วนการระบาดต่อคนงานจำนวนมากอาจจะไม่ปิด แยกคนติดเชื้อออกมา และเดินหน้าเครื่องจักรต่อไป เป็นวิธีการปรับตัว การปิดทั้งหมดอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ส่วนคนเสียชีวิตวันนี้ 207 ราย ส่วนใหญ่อยู่ใน กทม. 60 ราย ปริมณฑล 64 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง ดังนั้น วัคซีนที่ได้มานอกจากบุคลากรทางการแพทย์ต้องเป็นด่านหน้า ประชาชนทั่วไปขอเน้นย้ำในกลุ่มโรคเรื้อรังรวมหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะพบหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตด้วย และกว่าจะสร้างภูมิ 2-4 สัปดาห์หลังฉีด การจะลดอัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิต จึงต้องช่วยกันเร่งฉีดวัคซีน
ทั้งนี้ การติดตามยุทธศาสตร์การจัดการการระบาดโควิด 19 ช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 5 ส.ค. หรือสัปดาห์ที่ 33 ของปีนี้ พบการติดเชื้อทั้ง 77 จังหวัด เฉลี่ย 18,000 รายต่อวัน การใช้เตียงเดิมกระจุกตัวใน กทม.และปริมณฑล ก็กระจายออกไปตามภูมิภาค ส่วนใหญ่ไปทางอีสาน เนื่องจากเป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานใน กทม.และปริมณฑล ทำให้สถานการณ์เตียงอยู่ในระดับสีแดง คือเตียงพร้อมใช้น้อยกว่า 20% มี 13 จังหวัด คือ อยุธยา, ฉะเชิงเทรา, บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, หนองคาย, มหาสารคาม, นครสวรรค์, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, นครนายก, พิจิตร, สมุทรสาคร และภูเก็ต
ส่วนสีส้ม คือเตียงพร้อมใช้ 21-40% มี 23 จังหวัด ได้แก่ กทม., นนทบุรี, ปทุมธานี, ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด, นครราชสีมา, สุรินทร์, อุบลราชธานี, ยโสธร, ชัยภูมิ, อำนาจเจริญ, อุดรธานี, เลย, นครพนม, มุกดาหาร, อุทัยธานี, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์, สุราษฎร์ธานี, พัทลุง, ยะลา และนราธิวาส
ส่วนเตียงสีเหลือง พร้อมใช้ 41-60% มี 19 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ, สิงห์บุรี, สระบุรี, ระยอง, ปราจีนบุรี, ศรีสะเกษ, สกลนคร, ลำปาง, อุตรดิตถ์, น่าน, พะเยา, ตาก, พิษณุโลก, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, นครศรีธรรมราช, พังงา, ระนอง และสงขลา ส่วนจังหวัดที่เหลือเป็นเตียงสีเขียว เตียงพร้อมใช้มากกว่า 60%
ภาพรวมอาการหนักที่ต้องใช้เตียง 5,005 ราย ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคกลาง โดย จ.นครปฐม พบมากที่สุด คือ อาการหนักมากกว่า 10% ส่วนที่ไม่พบอาการหนักมี 2 จังหวัด คือ กระบี่ และพัทลุง สำหรับการเสียชีวิต ที่มีอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนการป่วยค่อนข้างมากที่เกินกว่าเส้นแดงคือ 1% คือ เพชรบุรี 3.4% และอุบลราชธานี 2.5%การลดการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิตเป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้ด้วยดี
อัตราการเสียชีวิตต่อแสนประชากร พบว่ากระจุกตัวในภาคกลาง โดยจังหวัดที่อัตราการเสียชีวิตมากกว่า 5 ต่อแสนประชากร มี 3 จังหวัด คือ กทม. อยู่ที่ 6.85 ต่อแสนประชากร , สมุทรสาคร 6.18 ต่อแสนประชากร และปัตตานี 5.11 ต่อแสนประชากร
ส่วนเสียชีวิต 3-5 ต่อแสนประชากร มี 3 จังหวัด คือ นครนายก สมุทรปาการ และอ่างทอง เสียชีวิต 1.5-3 ต่อแสนประชากร มี 6 จังหวัด คือ ตราด, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, ยะลา และสุโขทัย และน้อยกว่า 1.5 ต่อแสนประชากรมี 53 จังหวัด
และไม่พบผู้เสียชีวิต 12 จังหวัด คือ จันทบุรี, น่าน, บึงกาฬ, พะเยา, พังงา, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, แพร่, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ลพบุรี และลำพูน ส่วนภาพรวมระดับโลก เราเสียชีวิตอยู่ที่ 89 ต่อล้านประชากร อันดับ 148 ของโลกอันดับหนึ่งคือเปรู 5,881 ต่อล้านประชากร ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยกันรักษาผู้ป่วยอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ ทำให้อาการดีขึ้น
“คำตอบเราต้องใช้วัคซีนในการควบคุม โดยใน 29 จังหวัดควบคุมสุงสุดและเข้มงวด หากต้องฉีดให้ครอบคลุม 70% ล้วยแต่แต่ต่ำกว่าเป้าหมายทั้งนั้น มีแค่ กทม.ที่ฉีดกลุ่ม 60 ปีขึ้นไปได้ 90% นอกจากนั้นต่ำทั้งหมด เราจึงต้องเร่งรัดการฉีด โดยจังหวัดที่ต่ำกว่า 20% ได้แก่ ลพบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา สุพรรณบุรี เป็นงานที่ต้องทำร่วมกัน ลดป่วยตายรุนแรงต้องใช้วัคซีน ฉีดให้ได้ 60-70% ฝากพาผู้สูงอายุไป ตอนนี้มีมาตรการใหม่ในการเดินไปฉีดวัคซีนโดยทีม CCRT กทม.เป็นตัวอย่าง ต่างจังหวัดก็มีที่มุกดาหาร ยโสธรก็มีแล้ว” นพ.ทวีศิลป์กล่าว
่ที่มา khaosod