เมื่อพูดถึง ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) หลายคนคงทราบว่าเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาล ที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มผลผลิต เพิ่มผลงาน โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยลง แต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการมากขึ้น การขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงเกษตรกรรม

จากนโยบาย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต เกษตรกรรมยุคใหม่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่การเกษตรในประเทศมากถึง 150 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2559 และมีการเกษตรที่สำคัญคือการทำนาข้าว โดยผลพยากรณ์การผลิตข้าว มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.45 ในปีเพาะปลูก 2561/2562 ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถถูกใช้เป็นส่วนสำคัญในการช่วยปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเกษตร จากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การทำเกษตรยุคใหม่ได้ การปรับตัวเข้าสู่การเกษตรสมัยใหม่จึงถือเป็นความท้าทายต่อเกษตรกรไทยอย่างมาก เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยในการทำเกษตรเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต

ประเทศไทยสร้างรายได้จากการส่งออกด้วยการขยายพื้นที่ทางการเกษตรและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การนําเครื่องจักรมาใช้ประกอบกับการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย อีกทั้งระบบชลประทานขนาดใหญ่ ทําให้ประเทศ ไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันก็คือการขาดแคลนแรงงานและการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรเข้าสู่เกษตรสมัยใหม่ ซึ่งในปัจจุบัน มีการใช้โดรนเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย

โดรนคืออะไร สำคัญอย่างไร

โดรน มีอีกชื่อนึงว่า UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้ในการถ่ายรูป/ถ่ายวิดีโอจากมุมสูง ใช้ในการเกษตร และใช้ในการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นบริการที่ทาง google และ amazon กำลังพัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการในอนาคต คนส่วนใหญ่ใช้โดรนสำหรับการถ่ายภาพที่ทำให้ได้มุมมองที่แปลกตา ปัจจุบันรายการโทรทัศน์ ละคร หรือภาพยนตร์ นิยมใช้โดรนในการถ่ายทำเพื่อให้ได้มุมมองที่สวยงามที่ไม่เคยเห็น ตัวอย่างเช่น ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาวครั้งที่ 23 “พยองชัง 2018” ที่เกาหลีใต้ ซึ่งใช้โดรน 1,218 ตัว บินเพื่อแปลอักษรเป็นรูปห้าห่วงโอลิมปิก เป็นต้น จะเห็นได้ว่า โดรนนั้นเป็นเทคโนโลยีที่เป็นกระแสนิยมค่อนข้างมาก และในการใช้โดรนนั้น นอกจากจะต้องศึกษาเพื่อเลือกใช้ประเภทของโดรนที่เหมาะกับลักษณะงานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงกฎหมายอีกด้วย

โดรนแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
  • Multirotor UAVs เป็นโดรนประเภทที่ใช้งานทั่วไป เนื่องจากมีความคล่องแคล่ว สะดวก เพราะไม่ต้องใช้รันเวย์ในการบินขึ้นและลงจอด
UNID MultirotorการเกษตรSprayer UAV Drones Heavy Lift| | - AliExpress
  • Fixed-wing drones มีความเร็วสูงกว่าโดรนประเภท Multirotor UAVs และสามารถบินได้นานกว่า จึงเหมาะกับการสำรวจพื้นที่ขนาดกว้าง แต่จำเป็นต้องมีรันเวย์ในการบินขึ้นและลงจอด
50kg Heavy Payload Vtol Fixed-wing  เบนซินการสำรวจการทำแผนที่ตรวจสอบสินค้าลาดตระเวน Drone และ Uav - Buy  ตรวจสอบสินค้าลาดตระเวน Drone และ Uav Fixed Wing การจัดส่ง Drone,Fixed-wing  เบนซินการสำรวจการทำแผนที่ Drone และ Uav,Heavy Payload Vtol Drone และ Uav ...
  • Hybrid model (tilt-wing) เป็นประเภทที่พบได้ยาก มีความเร็วในการบิน และระยะในการบินสูงกว่าสองแบบแรก และไม่ต้องใช้รันเวย์ในการบินขึ้นและลงจอด

กฎหมายโดรนในไทยที่ควรรู้

ก่อนการนำโดรนมาใช้ทางการเกษตร หรือนำมาใช้งานอื่นๆ ผู้ใช้งานควรศึกษากฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโดรนให้เข้าใจก่อน ราชกิจจานุเบกษา และประกาศกระทรวงคมนาคม มีการกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการควบคุมการบินตามกฎหมายของไทย หากผู้ใดทำกระทำความผิดต่อกฎอย่างใดอย่างหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยราชกิจจานุเบกษา ข้อ 4 มีหลักเกณฑ์ และมีการแบ่งอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

(1) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา แบ่งออกเป็น 2 ขนาด คือ (ก) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม (ข) ที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม (2) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจาก (1) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม ดังต่อไปนี้ (ก) เพื่อการรายงานเหตุการณ์หรือรายงานการจราจร (สื่อมวลชน) (ข) เพื่อการถ่ายภาพ การถ่ายทำหรือการแสดงในภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ (ค) เพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน (ง) เพื่อการอื่น ๆ ประเภทที่ (2) นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม ขณะที่ประเภทที่ (1) มีแบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้ ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

อากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเดียวกันกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วยโดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

สำหรับผู้ใดประสงค์จะบังคับหรือปล่อยอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม ให้ยื่นขออนุญาตต่ออธิบดีเป็นกรณีไป

จะเห็นได้ว่า นอกจากในแง่ความคุ้มค่าการลงทุน ความต้องการของผู้บริโภคแล้ว การนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ ยังจำเป็นต้องศึกษากฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับของไทยด้วยเป็นประเด็นสำคัญ

การใช้โดรนสำหรับการเกษตร

ปัจจุบันการทำการเกษตรของไทยมีการพัฒนาไปอย่างมาก โดยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนผลิต การใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในกระบวนการต่างๆ ไปจนถึงการหาตลาดโดยใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตตรงสู่ผู้บริโภคได้ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เทคโนโลยีสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรไทยได้ ซึ่งโดรนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดเวลา ลดแรงงานในการทำงาน โดยโดรนสามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ดังนี้

โดรนสำหรับหว่านปุ๋ย และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงสัตรูพืชในนาข้าว

โดยปกติแล้วการฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชและหว่านปุ๋ยในแปลงนาข้าวโดยใช้แรงงานคน จะใช้เวลาในการทำงานหลายชั่วโมงต่อพื้นที่นา 10 ไร่ โดยมีค่าจ้างอยู่ที่ประมาณ 50 บาท/ไร่ และมีการเหยียบย่ำลงในแปลงนาข้าวเพื่อให้ทำการหว่านปุ๋ยและฉีดพ่นยาได้ทั่วถึง จึงอาจทำให้พืชผลได้รับความเสียหาย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการฟุ้งกระจายสารเคมีที่ใช้ต่อแรงงานที่เป็นผู้ฉีดพ่นยา หากนำโดรนมาใช้ในการฉีดพ่นยาและหว่านปุ๋ยในแปลงนาจะมีค่าใช้จ่าย 120 บาท/ไร่ แต่การใช้โดรนจะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้แรงงานคน สามารถลดเวลาในการทำงานได้ โดยที่พื้นที่ปลูกข้าว 10 ไร่ ใช้เวลาเพียงประมาณ 10 นาทีในการฉีดพ่นยาและหว่านปุ๋ย และใช้แรงงานคนในการควบคุมเพียง 1-2 คนเท่านั้น

ข้อดี ของการใช้โดรนพ่นสารเคมี คือลดเวลาที่ต้องใช้คนนำถังน้ำยาเดินฉีดหรือพ่นยาไปตามท้องไร่นาหรือสวน ซึ่งจะใช้เวลานาน และไม่สามารถพ่นยาได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งการเดินตามท้องไร่นา หรือสวน จะทำให้เกิดการเหยียบย่ำพืชให้เสียหาย ซึ่งหากมีการวางแผนในระยะยาว การใช้โดรนพ่นยา จะทำให้คุ้มทุนมากกว่าการจ้างคนเพื่อพ่นยา และสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานคนได้

ข้อเสีย ของการใช้โดรนพ่นสารเคมี คือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงานในการพ่นยา อีกทั้งผู้ใช้งานต้องเรียนรู้ระบบการใช้งานของโดรนที่ค่อนข้างซับซ้อน และค่าแบตเตอรี่ซึ่งมีราคาแพง และมีความเสี่ยงต่อการที่เครื่องยนต์มีปัญหา อุปกรณ์ขัดข้อง แบตเตอรี่เสื่อม เกิดอุบัติเหตุ เช่น บินชนต้นไม้ ทำให้เครื่องตก หรือเกิดความเสียหาย รวมถึงมีความลำบากจากการต้องเติมน้ำยาบ่อยครั้ง เนื่องจากเครื่องบินบรรทุกน้ำยาได้ไม่มาก และการต้องคอยดูแลรักษาเครื่อง เช่นการเปลี่ยนแบตเตอรี่ เป็นต้น

โดรนสำหรับการรดน้ำ การให้ฮอร์โมน

ในการรดน้ำและการให้ฮอร์โมนพืช ช่วงเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก พืชจะสามารถดูดซึมอาหารและฮอร์โมนได้ดีที่สุดในช่วงเวลาที่ปากใบเปิด คือเวลาไม่เกิน 7 โมงเช้า หากเกษตรกรมีพื้นที่ทำการเกษตรหลายไร่ ก็จะต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชให้ทันเวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ได้โดยการใช้โดรนในการรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชแทนแรงงานคน ซึ่งจะสามารถลดเวลาและการใช้แรงงานในการรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชได้ และยังลดการเหยียบย่ำในพื้นที่แปลงนาให้เกิดความเสียหายด้วย โดยโดรน 1 ลำ สามารถฉีดพ่นพืชในตระกูลพืชไร่ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ได้จำนวน 100-200 ไร่ต่อวัน โดยใช้คนควบคุมการทำงานของโดรนเพียง 1-2 คน เท่านั้น ในขณะที่การรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชโดยทั่วไป อาจจ้องใช้แรงงานคนถึง 10-20 คนเลยทีเดียว

โดรนสำหรับการถ่ายภาพวิเคราะห์/ตรวจโรคพืช

เทคโนโลยีโดรนสามารถนำมาช่วยให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาโรคพืชได้อย่างตรงจุด โดยการนำโดรนมาติดระบบเซ็นเซอร์ และกล้องสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศโดยใช้ระบบ GPS ในการหาพิกัดต่าง ๆ การตรวจสอบภาพพื้นที่เพาะปลูกในมุมสูง เพื่อวิเคราะห์หาการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละจุด และหาวิธีแก้ไขได้อย่างทั่วถึง

ที่มา depa