วันนี้ (15 ต.ค.) นายสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยื่นหนังสือต่อ กกต.ขอให้พิจารณายุบพรรคเพื่อไทย กรณีขับ นายศรัณย์วุฒิ ศรัณเกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ และ น.ส.พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี ออกจากเพื่อไทย ถือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ
นายสนธิญา กล่าวว่า ได้ยื่นขอให้ กกต.ยุบพรรคเพื่อไทย รวม 3 ครั้งแล้ว โดยในวันนี้ยื่นอีก 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่พรรคเพื่อไทยขับ 2 ส.ส.ออกจากพรรค เนื่องจากยื่นสวนมติพรรค ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 ระบุว่า บทบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับมิได้ ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้อ้างข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยและไปขับ ส.ส. ทั้งที่ รัฐธรรมนูญมาตรา 114 และ 124 ระบุว่า การออกเสียงและลงคะแนนเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. และมาตรา 224(5)(6) ที่ระบุให้อำนาจ กกต.ในการพิจารณายุบพรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ ยังฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 14(4) ที่ระบุว่า ข้อบังคับพรรคต้องไม่มีลักษณะครอบงำเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนประเด็น ส.ส.มุกดาหาร พรรคเพื่อไทย ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดว่ากระทำการเรียกรับเงินต่ออธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 20, 21, 22, 46 และมาตรา 92(1)(2)(3) โดยขอให้ กกต.พิจารณาเรื่องดังกล่าวส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคต่อเพื่อไทยต่อไป
นอกจากมายื่นยุบพรรคเพื่อไทยแล้ว ในวันนี้ นายสนธิญา ยังได้เข้าให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่สอบสวนของสำนักงาน กกต. ที่เกี่ยวกับการยื่นคำร้อง เพื่อขอให้ กกต.พิจารณายุบพรรคเพื่อไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
เมื่อถามว่า กรณีที่พรรคเพื่อไทยมีมติขับ นายศรัณย์วุฒิ ศรัณเกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ ออกจากพรรค โดยให้เหตุผลว่า เป็นการพูดให้ร้ายพรรค ไม่ใช่เรื่องของการโหวตสวนมติพรรคในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น นายสนธิญา กล่าวว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย จะต้องมาชี้แจงต่อ กกต. เพราะ ส.ส.ที่ถูกขับออกจากพรรคคนดังกล่าว ระบุว่า ที่ตนถูกขับออกจากพรรคเนื่องจากโหวตสวนมติพรรค ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่ต้องไปดูข้อเท็จจริง แต่ไม่ว่ากฎหมาย หรือข้อบังคับอะไรก็ตาม ขัดรัฐธรรมนูญก็บังคับใช้ไม่ได้ ซึ่งแม้แต่การอภิปรายต่างๆ ในสภาของ ส.ส. ต่างได้รับเอกสิ